5 ข้อผิดพลาดบน เว็บไซต์ E-Commerce ที่ทำให้ยอดขายออนไลน์ไม่รุ่ง

5 ข้อผิดพลาดบน เว็บไซต์ E-commerce

เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ปันใจมารักการช้อปปิ้งออนไลน์ เพราะสะดวก ประหยัดเวลา ไม่ต้องแบกหิ้วของกลับมาบ้านเอง เพียงแค่กดสั่งซื้อผ่าน แอปพลิเคชัน หรือ เว็บไซต์ E-commerce สินค้าก็มาส่งถึงหน้าบ้านภายในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้บรรดาร้านค้าต่าง ๆ แม้กระทั่งแบรนด์ใหญ่ ๆ  ก็ผันตัวมาทำเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าผ่านทางออนไลน์กันมากขึ้น 

 

แต่ก็ไม่ใช่ทุกแบรนด์ทุกเว็บจะประสบความสำเร็จสร้างยอดขายออนไลน์ได้ถล่มทลาย 

 

หลายคนมีปัญหา ลูกค้ากดเลือกสินค้าลงตะกร้าหลายครั้ง แต่ไม่ยอมกดสั่งซื้อสักที หรือ ลูกค้าไปถึงหน้าเลือกวิธีการชำระเงินแล้ว แต่กลับกดออกซะงั้น 

 

คุณพลาดตรงไหน? เกิดอะไรขึ้นกับเว็บไซต์ E-Commerce ของคุณ ? 

 

จากประสบการณ์ดูแลเว็บไซต์ E-Commerce ให้หลาย ๆ ธุรกิจ วันนี้แนนรวบรวม 5 ข้อผิดพลาดพร้อมวิธีแก้ไข เพื่อให้คุณปรับเว็บไซต์และขายสินค้าออนไลน์ได้มากขึ้นค่ะ

 

Top 5 ข้อผิดพลาดบน เว็บไซต์ E-commerce

1. ลูกค้าหาปุ่มกดสั่งซื้อไม่เจอ 

Cart Abandonment คือการที่ลูกค้ากด add to cart เลือกสินค้าลงตะกร้าแล้ว แต่สุดท้ายไม่กดสั่งซื้อ ถ้านั่นเป็นเพราะลูกค้าเกิดเปลี่ยนใจ ยังไม่เจ็บใจเท่า ไม่ซื้อเพราะเขาหาปุ่มกดสั่งซื้อของเราไม่เจอ ซึ่งมีหลายเว็บทีเดียวที่เป็นแบบนี้ 

 

สาเหตุแนนคิดว่า บางเว็บมีแบนเนอร์โฆษณาโชว์โปรโมชันอยู่ทั่วทั้งเว็บไซต์ เลื่อนจอไปตรงไหนก็เจอ ถ้าแบนเนอร์เหล่านี้อยู่ถูกที่ถูกทางจะช่วยกระตุ้นให้กดสั่งซื้อ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีแบนเนอร์แบบนี้อยู่ทุก ๆ หน้า และวางไว้หลาย ๆ ตำแหน่ง ไม่เว้นแม้กระทั่ง step การสั่งซื้อสินค้า ลูกค้าอาจจะหาปุ่มกดสั่งซื้อไม่เจอก็ได้นะคะ บอกได้เลยค่ะว่า พัง! ลูกค้ากดออกจากหน้าตะกร้าสินค้าแน่ ๆ 

 

กรณีแบบนี้แนนเจอมากับตัวเลยค่ะ เข้าเว็บขายผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเว็บหนึ่ง แนนเลือกสินค้าลงตะกร้าเยอะมาก พอตรวจสอบรายการเรียบร้อยกำลังจะกดสั่งซื้อ อ้าว หาปุ่มไม่เจอ เพราะมีแบนเนอร์มาคั่นกลางเยอะมาก ๆ แนนกดออกเลยค่ะ เพราะอยากจะซื้อแล้ว แต่หาปุ่มซื้อไม่เจอ 

 

เว็บไซต์ E-commerce, ขายออนไลน์

 

2. Checkout steps ยุ่งยากเกินไป 

ตรงนี้เป็นอีกส่วนที่ลูกค้าจะ drop off ออกไปเยอะมาก เพราะบางเว็บไซต์ให้ลูกค้ากรอกทั้ง billing address และ shipping address หมายความว่าคุณบังคับให้ลูกค้ากรอกที่อยู่ถึง 2 ครั้ง ซึ่ง 90% เป็นที่อยู่เดียวกัน ! 

 

บางคนอยู่คอนโด มีทั้งชื่อคอนโด เลขที่บ้าน เลขที่ห้อง ชั้น อาคาร แขวง เขต ถนน ซอย…ถ้าต้องกรอกซ้ำหลายรอบนี่เหนื่อยเหมือนกันนะคะ ลูกค้าหลายคนเลยเลือกจะไม่กรอก และออกไปซื้อที่เว็บอื่นแทน

 

ดังนั้น คำแนะนำของแนนสำหรับหน้านี้นะคะ ไม่ควรให้ลูกค้ากรอกข้อมูลอะไรมาก แค่มีชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ก็พอแล้วค่ะ  และให้ billing และ shipping ใช้ default เป็นที่อยู่เดียวกันไปเลย ลดความยุ่งยากในการกรอกข้อมูล และลดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะออกจากเว็บเราไปโดยไม่เกิดการสั่งซื้อ

 

3. ไม่มีตัวเลือกการชำระเงิน

ถ้าลูกค้าทำรายการมาจนถึงหน้าวิธีการชำระเงินแล้ว แปลว่าเขาพร้อมจะซื้อสินค้าของเราแล้วค่ะ แต่บางเว็บก็ยังเจอลูกค้าที่ drop off จาก step นี้อยู่บ้าง เพราะไม่มีตัวเลือกช่องทางการจ่ายเงินที่ลูกค้าสะดวก 

 

หลายคนไม่มีหรือไม่ชอบใช้บัตรเครดิตซื้อของออนไลน์ เพราะยังเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยอยู่ สะดวกให้โอนเงินหรือเก็บเงินปลายทางมากกว่า 

 

แนนแนะนำว่า ตอนนี้การชำระเงินสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น โอนเงินผ่านธนาคาร จ่ายผ่านบัตรเครดิต จ่ายผ่าน paypal rabbitLINEpay หรือเก็บเงินปลายทาง 

เว็บไซต์ E-Commerce ของคุณต้องรองรับความต้องการของลูกค้าได้ทุกประเภท เผื่อไว้ดีกว่าขาดนะคะ 🙂

 

เว็บไซต์ E-commerce, ขายออนไลน์

4. บังคับให้ลูกค้า login หรือ register ก่อนสั่งซื้อ

ลูกค้าบางรายไม่ได้อยากสมัครสมาชิก เขาแค่อยากซื้อสินค้า ถ้าเว็บของคุณบังคับว่า ต้อง login ก่อนถึงจะซื้อสินค้าได้ ตรงนี้จะทำให้คุณเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไปแน่ ๆ 

 

ทางที่ดีเว็บของคุณควรมีตัวเลือกเผื่อไว้สำหรับคนที่อยากกดสั่งซื้อทันที และสามารถไปหน้ากรอกที่อยู่ได้เลยโดยไม่ต้อง login หรือสมัครสมาชิก เพื่อลดการสูญเสียลูกค้าในส่วนนี้ไปค่ะ 

 

5. ลูกค้า Search หาสินค้าบน เว็บไซต์ E-commerce ไม่เจอ

เคยไหมคะ เข้าไปดูสินค้าในเว็บไซต์ที่มีรายการสินค้ามากมายให้เลือก  คุณต้องการประหยัดเวลาโดยใช้ช่อง “ค้นหา” ที่มีอยู่บนเว็บไซต์ แต่กลับ search หาสินค้าที่ต้องการไม่เจอเลย เลวร้ายกว่านั้นคือเจอหน้า error แทน 

 

กรณีนี้ แนนแนะนำให้เว็บไซต์ที่ขายสินค้าหลายร้อยหลายพันรายการ ให้ความสำคัญกับการติดตั้งระบบค้นหาให้รองรับคำค้นหาหลาย ๆ แบบ ทั้งแบบคำกว้าง ๆ เช่น ประเภทสินค้า (TV) และคำเฉพาะเจาะจงของสินค้านั้น ๆ (TV 55 นิ้ว) เพราะถ้าลูกค้าเข้ามาแล้วหาสินค้าที่ต้องการไม่เจอ เขาก็จะออกไปหาต่อที่เว็บอื่น และอาจจะไปจบการสั่งซื้อที่เว็บนั้น และไม่กลับมาหาเราอีกเลยในครั้งต่อไปก็เป็นได้

 

ทั้ง 5 ข้อข้างต้น เป็นแค่ข้อผิดพลาดพื้นฐานในการทำเว็บไซต์ E-Commerce ถ้าเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของคุณแล้วเพิกเฉย ไม่รีบแก้ไข ผลกระทบอาจจะไม่ใช่แค่ยอดขาย แต่คุณอาจจะไม่เหลือแม้กระทั่งคนเข้ามาดูเว็บไซต์เลยก็ได้ ยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีก้าวไปไวมาก ใครผิดพลาดแล้วแก้ไขได้เร็วกว่า คนนั้นก็ลุกมาสู้ต่อได้ไวกว่า อย่ามัวแต่เสียเวลาทำอะไรที่ไม่ช่วยเพิ่มยอดขาย มาใช้เวลากับการตรวจสอบประสิทธิภาพร้านค้าออนไลน์ของเราดีกว่านะคะ 

 

อยากเพิ่มยอดขายให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทไหน Heroleads เรามีบริการรับทำ CRO หรือ Conversion Rate Opimaization เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเว็บไซต์ E-commerce ของคุณ 

 

เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์เว็บไซต์ ดูว่าลูกค้าเข้ามาในแต่ละ step มากน้อยเท่าไหร่ และ  drop off ออกไปใน step ไหนมากที่สุด 

 

ควบคู่ไปกับการทำ Quantitative และ Qualitative research เปรียบเทียบเว็บไซต์ของคุณกับเว็บไซต์อื่น ๆ  ในธุรกิจ E-Commerce ที่เป็นประเภทเดียวกัน เพื่อออกแบบโซลูชันส์ที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพที่สุด และสร้างยอดขายให้คุณได้มากที่สุดค่ะ

 

ปรึกษาเรา

Ketnapha Wilaiprasitporn

Head of Web Development & Analytics ผู้เชี่ยวชาญด้าน Web Analytics ในเว็บไซต์ทุกประเภท พร้อมให้คำปรึกษาเรื่อง CRO ที่ตรงกับ Business Objective เพื่อให้ลูกค้าไปถึง KPI ที่ตั้งไว้

Recent posts

TikTok Winning Formula : From Content Creation to Conversion

ถอดสูตรสำเร็จ ! ทำแคมเปญการตลาด ที่งาน “TikTok Winning Formula”

ถอดสูตรสำเร็จ !...
อัปเดตข่าวเกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

อัปเดตข่าวล่าสุด ! เกี่ยวกับอัลกอริทึม Google และการค้นหาในเดือนมิถุนายน 2024

อัปเดตข่าวล่าสุ...
สร้าง Content Marketing อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Social Listening

สร้าง Content Marketing อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Social Listening

สร้าง Content M...

ปรึกษาแผนการตลาด
กับผู้เชี่ยวชาญของเรา

กรอกข้อมูลให้เราติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ และ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณ พร้อมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นแคมเปญ